เมนู

พรรณนาวงศ์พระปทุมพุทธเจ้าที่ 8



ต่อจากสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี มนุษย์ทั้งหลายมีอายุ
แสนปีแล้วลดลงโดยลำดับจนมีอายุ 10 ปี แล้วเพิ่มขึ้นโดยลำดับอีก จนมี
อายุแสนปี. ครั้งนั้น พระศาสดาพระนามว่า ปทุม ทรงอุบัติขึ้นในโลก. แม้
พระศาสดาพระองค์นั้น ก็ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิดขึ้นสวรรค์ชั้นดุสิต จุติจาก
นั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอสมา ผู้ที่ไม่มีผู้เสมอด้วย
พระรูปเป็นต้น อัครมเหสีในราชสกุลของ พระเจ้าอสมราช กรุงจัมปกะ.
ครบกำหนดทศมาแล้ว พระองค์ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ
จัมปกะราชอุทยาน. เมื่อพระกุมารสมภพ ฝนปทุมหล่นจากอากาศตกลงที่ท้าย
มหาสมุทรทั่วชมพูทวีป. ด้วยเหตุนั้น ในวันขนานพระนามพระกุมารนั้น
พวกโหรและเหล่าพระประยูรญาติ จึงขนานพระนามว่า มหาปทุมกุมาร
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี ทรงมีปราสาท 3 หลัง ชื่อว่านันทุตตระ
วสุตตระ และยสุตตระ. ปรากฏ พระสนมนารีสามหมื่นสานพันนาง มีพระนาง
อุตตราเทวีเป็นประมุข.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อ รัมมราชกุมาร ของพระนางอุตตรา
มหาเทวีสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต 4 เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า
บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ซึ่งทรงผนวชอยู่นั้น พระมหาสัตว์อัน
บุรุษเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 8 เดือน ในวันวิสาขบูรณมี
เสวยข้าวมธุปายาส ซึ่ง นางธัญญวดี ธิดาของ สุธัญญเศรษฐี กรุงธัญญวดี
ถวายแล้ว ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ มหาสาลวัน เวลาเย็นทรงรับหญ้า 8 กำ
ซึ่ง ติตถกะอาชีวก ถวาย แล้วเสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อต้นมหาโสณะ

ไม้อ้อยช้างใหญ่ ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง 38 ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐาน
ความเพียรมีองค์ 4 ทรงกำจัดกองกำลังมาร ทรงทำให้แจ้งวิชชา 3 ในยาม
ทั้ง 3 ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯลฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา
ทรงยับยั้งอยู่ใกล้โพธิพฤกษ์ 7 สัปดาห์ ทรงรับอาราธนาท้าวมหาพรหม ทรง
ตรวจดูบุคคลซึ่งเป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา ทรงเห็นภิกษุจำนวนโกฏิ
ซึ่งบวชกับพระองค์ ในทันใด ก็เสด็จไปทางอากาศลง ณ ธนัญชัยราชอุทยาน
ใกล้กรุงธัญญวดี อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ท่ามกลางภิกษุเหล่านั้น. ครั้งนั้น อภิสมัยได้มีแก่สัตว์ร้อยโกฏิ ด้วยเหตุนั้น
จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า พระ
สมัยพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุม เป็นยอดของสัตว์สอง
เท้า ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทั้งศีลของพระองค์ก็ไม่มีอะไรเสมอ ทั้งสมาธิ
ก็ไม่มีที่สุด ทั้งพระญาณอันประเสริฐ ก็นับไม่ได้
ทั้งวิมุตติ ก็ไม่มีอะไรเปรียบ.
ในการประกาศพระธรรมจักรของพระองค์ ผู้มี
พระเดชที่ชั่งไม่ได้ อภิสมัยการตรัสรู้ ที่เป็นเครื่อง
ลอยความมืดอย่างใหญ่ มี 3 ครั้ง.


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมํ สีลํ ได้แก่ ไม่เสมือนด้วยศีล
ของผู้อื่น อธิบายว่า สูงสุด ประเสริฐสุด. บทว่า สมาธิปิ อนนฺตโก
ได้แก่ ทั้งสมาธิ ก็หาประมาณมิได้. ความที่สมาธินั้น ไม่มีที่สุด พึงเห็น